วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



ให้นักศึกษาอ่าน


แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ จากที่ได้อ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2550 ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำใหม่นี้มีสาระสำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย  สำหรับเป็นแนวทางในการปกครองประเทศ  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน 

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
 ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
 มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
          การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน  การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ 4  แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข  การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการศึกษา ใน (3), (4) โดย
             (3)  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ   จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
             (4)    ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การ ทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ                  

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ 1.คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงนโยบายที่จะดำเนินการต่อรัฐสภาและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนิน การเสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
        2.สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
       3. บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผุ้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3) มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
       4.บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1) เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
       5. ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร* ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี
อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ  เพราะ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2550 เป็นการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง เป็นผู้สนับสนุน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านเนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อตนเอง และเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในปัจจุบัน

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 
ตอบ อำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3  อำนาจ คือ
      1. อำนาจนิติบัญญัติ 
      2. อำนาจบริหาร 
      3. อำนาจตุลาการ
      การทำหน้าที่รักษาอำนาจของทั้ง 3 อำนาจขาดความปรองดอง มีการแบ่งฝ่ายซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีความขัดแย้งกัน ซึ่งทำให้เมื่อมีการประชุมหรือวางข้อตกลงเกิดปัญหาบ่อยครั้ง เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และมีการต่อต้านกับอีกฝ่ายมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน เกิดการขัดแย้งและมีปัญหาระหว่างการประชุมบ่อยครั้ง ซึ่งทำให้ขาดความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพในการบริหารบ้านเมือง ซึ่งอาจจะนำมาสู่ปัญหาต่างๆมากมายในประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น