วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3


ให้นักศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม

1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  พระราชบัญญัติเป็นกฏหมายที่มีลำดับลองจากกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งฏหมายที่มีลำดับรองจากรัฐธรรมนูญนั่นประกอบด้วยกฎหมาย 3 อย่าง คือ 1 ประมวลกฎหมาย  2 พระราชบัญญัติ  3 พระราชกำหนด ซึ่งกฎหมายสามอย่างนี้มีศักเท่าเทียมกันครับ

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" 
เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวมและยังเป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนการสอน ตามนโยบายของรัฐ และเหมาะกับสภาพของสังคมไทย จุดมุ่งหมายในมาตรา 7 จึงเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่อาจสามารถประเมินได้ และร่างโดยคำนึงถึงปรัชญาการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปารถนาของสังคมไทยที่อยากให้คนไทยมีบุคลิกลักษณะประจำชาติอย่างไร

3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  หลักสำคัญในการจัดการศึกษา (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
1. การศึกษาตลอดชีวิต  ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน เพราะจะต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพ จึงจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปรอบตัวเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2. การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมนั้นแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการจัดการศึกษา ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและช่วยดูแลการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
3.การพัฒนาต่อเนื่อง  การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง

4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายระบุหลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาไว้ด้วย (มาตรา 9) ได้แก่
1.   หลักเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ หมายความว่าการจัดการศึกษาจะเน้นนโยบาย หลักการ และเป้าประสงค์ร่วมกัน แต่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้ดุลยพินิจเลือกเส้นทางและวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงานของตน
2.   หลักการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบริหารที่ให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้เอง
3.    การกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา  ในเมื่อหน่วยปฏิบัติได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการได้อย่างคล่องตัวพอควรแล้ว  ก็จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาให้หน่วยปฏิบัติรับผิดชอบ 
4.   การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาต่อเนื่อง โดยกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ การส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตรการอบรมมาตรฐานต่างๆ
5.   การระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้เพื่อการจัดการศึกษา  ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรการเงิน วัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในการเรียนการสอน ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนเป็นทรัพยากรจำเป็นแต่รัฐไม่สามารถจัดหามาสนับสนุนได้อย่างเพียงพอ
6.   การมีส่วนร่วม  การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษา โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆจะได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมเสนอแนะ กำกับติดตาม และสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  สิทธิและหน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา
1.การประกันสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดสำหรับการยกระดับคุณภาพประชากร ถือเป็นการลงทุนสำคัญ อย่างน้อยรัฐต้องมีหน้าที่จัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน  โดยการรองรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ  ค่าใช้จ่าย
2. การจัดแหล่งเรียนรู้ นอกจากการประกันสิทธิรับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว รัฐยังมีหน้าที่ต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
3. การจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อกล่าวถึงคำว่า รัฐ แล้ว ต้องคำนึงถึงองค์กรของรัฐอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งรัฐกระจายอำนาจให้ประชาชนดูแลกันเอง ภายใต้การกำกับของรัฐ นั่นคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการจัดการศึกษา
1.สิทธิที่ได้รับจากการจัดการศึกษาของรัฐ   บุคคลต้องมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีรัฐต้องจัดการศึกษาให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สิทธิส่วนนี้ได้รับการประกันไว้ไม่เพียงในกฎหมายการศึกษาเท่านั้น แต่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
2.  หน้าที่ในการจัดการศึกษา  กฎหมายกำหนดหน้าที่ในการจัดการศึกษาของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง  มีหน้าที่จัดให้บุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนต้องจัดให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว (มาตรา 11) ตามความข้อนี้ ประชาชนทุกคนซึ่งมีบุตรหลานหรือผู้อุปการะต้องมีภาระตามกำลังความสามารถ สองระดับ
3.  สิทธิในการจัดการศึกษา  บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง (มาตรา 12)
4.  สิทธิประโยชน์จากการจัดการศึกษา  เมื่อจัดการศึกษาแล้วประชาชนก็ย่อมมีสิทธิประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจากรัฐ ดังนี้ (มาตรา 13 และ 14)
4.1 การสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน รัฐต้องเข้ามามีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้จัดการศึกษาภาคประชาชนมีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตร หรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ 
4.2    เงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากการจัดการศึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายเพราะเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง 
4.3    การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา สิ่งที่รัฐจะสนับสนุนนอกจากเงินอุดหนุนแล้ว ก็คือการสนับสนุนด้านภาษี คือลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีในกรณีที่ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายการศึกษา แต่ทั้งนี้ต้องให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15  กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
          (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
          (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
          (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ 
   
7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ  ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป

8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือ  โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา  ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา  สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ  อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเ
ห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วย เพราะ การมีกฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะทำให้สถานศึกษามีอิสระ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม
  
10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อมนั้นเพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเสรีภาพในการจัดอบรมเลี้ยงดู และจัดการศึกษาให้แก่บุคคล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีส่วนร่วมในการกำหนดการเรียนการสอน หลักสูตรหรือจุดมุ่งหมายในการเรียนของแต่ละระดับได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลาย แต่ต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับเงินระดมทุนและค่าลดหย่อนในการจัดการศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลที่อยู่ในการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
  
11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   1. หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่ระบุในกฎกระทรวงให้พิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้
1)    ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา/สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจะคำนึงถึงองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ใช้เป็นแนวทางในการควบคุมการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษาทั้ง 9 ด้าน คือ(1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำเนินการ (2) การเรียนการสอน (3) กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา (4)การวิจัย (5) การบริการทางวิชาการแก่สังคม (6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (7) การบริหารและ
2)    การจัดการ (8) การเงินและงบประมาณ และ (9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งนี้ ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา จัดทำรายงานการศึกษาตนเอง (Self - Study Report) ที่ครอบคลุมการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาที่คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากำหนดเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
3)    ผลการปฏิบัติงานของคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่กำหนดไว้
4)    ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา
2. วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ระบุในกฎกระทรวงให้ใช้แนวปฏิบัติดังนี้
1)    ให้คณะวิชา/สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพขึ้น โดยมีหน้าที่พัฒนาบริหารและติดตามการดำเนินการ
2)    ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตลอดจนประสานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการจัดการศึกษาระดับต่างๆ จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3)    ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา เพื่อใช้กำกับ ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบนโยบายและหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
4)    ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีระบบและกลไกควบคุมคุณภาพขององค์    ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตบัณฑิต ดังนี้ (1) หลักสูตรการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ (2) คณาจารย์และระบบการพัฒนาคณาจารย์ (3)สื่อการศึกษาและเทคนิคการสอน (4) ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น (5) อุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ (6) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และบริการการศึกษา (7) การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษา (8) องค์ประกอตามที่แต่ละสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเห็นสมควร ทั้งนี้ แต่ละคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอาจจัดให้มีระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการขึ้นเป็นการภายในได้ตามที่จะเห็นสมควร โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะวิชาของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับบุคลที่ต้องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนทุกคนเพราะหากบุคลเหล่านี้มีใบประกอบวิชาชีพแล้วจะสอนคนให้เก่งทั้งทางด้านร่างกาย  สติปัญญา จิตใจ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หากบุคลเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นคนดีและมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาทั้งทางด้านการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนให้ก้าวทันสังคมโลก
  
13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ โดยมีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมของชุมชน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแหล่งทุนที่ทุกสถานศึกษามี แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควรมีส่วนร่วมในการจัดหาแนวทางเพื่อนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาให้ได้ประโยชน์สูงสุดและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช้อย่างคุ้มค่าและมีการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนเห็นค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น และจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขที่เป็นไปตาม 3 ห่วง 2   เงื่อนไขของในหลวง
   
14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  การพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต้องให้สอดคล้องกับผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสัมผัสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และต้องมีการพัฒนาสื่อการการเรียนรู้ให้ก้าวทันเทคโนโลยีและก้าวทันสังคม เช่น E-mail  Blogger   Facebook  E-learning  มาใช้ในการเรียน และทำสื่อการเรียนรู้จากเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้น่าสนใจและเป็นแรงดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น