วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน


คำชี้แจง 

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ 
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ      กฎหมาย   คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่ามนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น และขณะเดียวกันการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ      เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับบุคลที่ต้องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนทุกคนเพราะหากบุคลเหล่านี้มีใบประกอบวิชาชีพแล้วจะสอนคนให้เก่งทั้งทางด้านร่างกาย  สติปัญญา จิตใจ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หากบุคลเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นคนดีและมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาทั้งทางด้านการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนให้ก้าวทันสังคมโลก

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ      โดยมีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมของชุมชน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแหล่งทุนที่ทุกสถานศึกษามี แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควรมีส่วนร่วมในการจัดหาแนวทางเพื่อนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาให้ได้ประโยชน์สูงสุดและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช้อย่างคุ้มค่าและมีการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนเห็นค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น และจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขที่เป็นไปตาม 3 ห่วง 2   เงื่อนไขของในหลวง

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ     รูปแบบการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  และการศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ     การศึกษาภาคบังคับนั้นจะแตกต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานเพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานจะไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียน แต่เป็นสิทธิคือต่อจากการศึกษาภาคบังคับอีก 3 ปีคือ 12 ปี การศึกษาภาคบังคับนั้นเป็นการศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้า( 9 ปี )การศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่จะต้องปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น เด็กหญิงรัตติการ เข้าศึกศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้นคือ เด็กหญิงรัตติการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับแล้ว  และหญิงรัตติการ ต้องการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้นคือเด็กหญิงรัตติการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว เป็นต้น

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ     การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการนี้โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
              1. สำนักงานรัฐมนตรี                                                                           
              2. สำนักงานปลัดกระทรวง
              3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  
             4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
             5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
             6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ     เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและกฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญ คือแก้ไขพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และกำหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่ (1) สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับศึกษา ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ(2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร ทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง รวมทั้งบริหารจัดการองค์การค้าของคุรุสภา

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ     ไม่กระทำผิด  เพราะถือว่าเป็นการไปให้ความรู้แก่นักเรียน  ดังนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด


9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
ตอบ     โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษาตาม คือ
การออกคำสั่ง ลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. ทำเป็นคำสั่ง 
2. วิธีการออกคำสั่งเป็นไปตามระเบียบ ก.ค.ศ.
3. ต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
4. ต้องไม่เป็นการลงโทษโดยพยาบาท อคติ หรือโทสะ
5. คำสั่งลงโทษให้ระบบกรณีกระทำความผิดมาตราที่ปรับบทความผิด
6.เหตุผลในการกำหนดสถานโทษ
โทษทางวินัยมีมี  5  สถาน  คือ
           1.  ภาคทัณฑ์
           2.  ตัดเงินเดือน
           3.  ลดขั้นเงินเดือน
           4.  ปลดออก
           5.  ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
ตอบ  เด็ก  คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
  เด็กเร่ร่อน  คือ  เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
  เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
  เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ  เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  คือ  เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  ทารุณกรรม  คือ  การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น