วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ 
ตอบ         กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ   กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
                พระราชบัญญัติ  คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.. 2535 เป็นต้น
  พระราชกำหนด  คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น การประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
 พระราชกฤษฎีกา  คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เทศบัญญัติ คือ กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้  เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ        รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
                กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของสังคม กล่าวคือสังคมซึ่งเป็นที่รวมของคนหมู่มากอาจมีทั้งคนดีและคนเลยปะปนกันอยู่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข ระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เรียกรวมๆ กันว่าระเบียบของสังคม ซึ่งได้แก่ จารีตประเพณีและกฎหมาย
เพราะรัฐธรรมนูญ คือ เครื่องมือของผู้ปกครอง สำหรับใช้ ป้องกันอำนาจรักษาอำนาจ และควบคุมประชาชนให้อยู่ภายใต้อำนาจของผู้ปกครอง และถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญก็ไม่มีกฎระเบียบหรือกฎเกณฑ์ความประพฤติของมุนษย์ทำให้การใช้ชีวิตในสังคมวุ่นวาย ชลมุน ไม่สงบสุขและเกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ไม่มีความเท่าเทียมกันของเสรีภาพในสังคม

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ        ไม่ควรแก้ไข เพราะการเสนอแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้ององค์พระมหากษัตริย์ จากการถูกละเมิด หรือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงเป็นประเด็นการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนระบอบการ ปกครองของประเทศไทย มิใช่การเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างบริสุทธิ์ใจ ดังนั้นไม่ควรดำเนินการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และบทบัญญัติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการป้องกันมิให้มีการละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ        ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ กำลังดำเนินอยู่นั้น ไม่ได้ส่งผลแค่ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และยังจะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปยังประเทศและความร่วมมืออื่นๆ เพราะในกรณีของไทยกับกัมพูชานั้น ทั้งสองเป็นสมาชิกของอาเซียน และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และหลักสำคัญในการแก้ไข ขอให้คิดเสมอว่า เส้นเขตแดนที่กำลังทะเลาะกัน มันถูกขีดขึ้นโดยคนอื่น มันมาทีหลัง มันเป็นจินตนาการและสิ่งสร้างในฝันที่ดูเหมือนจะสวยงาม เพราะเส้นเขตแดน มันพาดผ่านทอดทับหมู่บ้าน ผู้คน กลุ่มชน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆมานานแล้ว มันแบ่งแยกเราเขาที่พูดภาษาเดียวกัน เคยเป็นครอบครัวเดียวกัน เคยไปมาหาสู่ซื้อขายสินค้า พบปะสังสรรค์ มันอาจมีความสำคัญกับรัฐชาติสมัยใหม่ แต่ไม่ได้มีความสำคัญมากมายกับชีวิตผู้คนที่เขาอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ดังนั้น อย่าให้สิ่งที่มันเป็นเพียงจินตนาการที่มีประโยชน์ไม่มากมาทำลายชีวิตผู้คน การทำมาหากิน การได้ใช้ชีวิตปกติ ครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ        เห็นด้วย กับประเด็นที่ว่า “ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ”  เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาเขียนไว้ และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย   การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้น พื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษ ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา   สถานศึกษา
ตอบ        การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
การศึกษาตลอดชีวิต  คือ การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาในระบบ คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา คือ หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เปฌนหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน  คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก  คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ผู้สอน คือ ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู  คือ  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
คณาจารย์ คือ บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา  คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ        การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษา ต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ ละระดับการศึกษา 

 8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ        บุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากครูคนนั้นเป็นครูอัตราจ้าง หากพิจารณาตามกฎหมาย จะไม่ผิดกฎหมาย เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ        1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. 2547
                  2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                  3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                  4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ        ในการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนการสอนที่ดีเพราะนอกเหนือจากที่อาจารย์ได้สอนในคาบเรียนแล้วนักศึกษาสามารถที่จะหาความรู้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่นได้ และข้อมูลที่บันทึกใน weblog ก็ยังคงอยู่ตลอดและยังนำไปใช้ได้ตลอดเวลาเมื่อเราต้องการโดยที่จะไม่หายและ มีประโยชน์มากกว่าที่ต้องไปทำลงในกระดาษเพราะอาจจะสูญหายได้ถ้าเก็บไว้ไม่ดีและในการเรียนวิชาก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับการใช้  weblog  ถ้าให้น้ำหนักวิชานี้จะให้เกรด A เพราะวิชานี้ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายการศึกษาเท่านั้นแต่ยังให้นักศึกษารู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์นอกเหนือจากในคาบเรียนเพราะนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากที่อาจารย์ได้ให้ข้อมูลมาด้วยและอีกยังนักศึกษารู้จักใช้เทคโนโลยีมาประกอบใช้ในการเรียนการด้วย และวิชานี้ดิฉันก็คิดว่าตัวเองนั้นอยากได้เกรด A เพราะดิฉันปราถนาที่อยากได้เกรดดีๆเพราะวิชานี้ดิฉันได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น